Untitled Document

Untitled Document

 

แนวทางแก้ปัญหาไฟป่า
แนวดำเนินการตามพระราชดำริป่าเปียกมี 6 วิธีด้วยกัน คือ
1. ทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้าและแนวพืชชนิดต่างๆ ปลูกตามแนวคลองนั้น
2. สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟ ป่าเปียก โดยอาศัยน้าชลประทานและน้าฝน
3. การปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้า เพื่อให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้นและแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้างของร่องน้ำ ซึ่งจะทาให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าเพราะไฟป่า จะเกิดขึ้นง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น
4.การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือที่เรียกว่า "Check Dam" ขึ้น เพื่อปิดกั้นร่องน้าหรือล าธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้าและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้าที่เก็บไว้
จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็น "ป่าเปียก"
5. การสูบน้าเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทาได้ แล้วปล่อยน้าลงมาทีละน้อยให้ค่อยๆ ไหลซึมลงดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป "ภูเขาป่า" ให้กลายเป็น "ป่าเปียก" ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย
6. ปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กาหนดให้เป็นช่องว่างของป่า ประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่าก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้าไว้ได้มากกว่าพืชอื่น ทำให้ลดการสูญเสียน้าลงไปได้มาก
ส่วนการแก้ปัญหาที่ประชาชนโดยทั่วไปก็สามารถทำได้ คือ ไม่เผาขยะ กิ่งไม้ ใบไม้ ต่าง ๆ 
ในที่โล่งแจ้ง ลดการใช้ยวดยานพาหนะ เพื่อลดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และในแต่ละพื้นที่ควรมีการจัดการและควบคุมปริมาณฝุ่นที่เกิดจากการก่อสร้าง
 ควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมให้จริงจังกว่าที่ผ่านมา
 
การควบคุมไฟป่า (Forest fire control)
การควบคุมไฟป่า หมายถึง การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับไฟป่าอย่างครบวงจร กล่าวว่าคือ เริ่มต้นจากการป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า โดยศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดของไฟป่าในแต่ละท้องที่แล้ววางแผนป้องกัน
1. การป้องกันไฟป่า (forest fire prevention) คือ ความพยายามในทุกวิถีทางที่ไม่ให้เกิดไฟป่าขึ้น ในทางทฤษฎี คือ การแยกองค์ประกอบของการเกิดไฟป่าออกจากกันในทางปฏิบัติได้ดำเนินการดังนี้
1.1 การให้การศึกษา เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับป่าไม้และไฟป่า แก่ประชาชนทุกชั้นอายุ ทั้งคนที่อาศัยอยู่ในเมืองและชนบท โดยใช้สื่อต่าง ๆ เช่น สิ่งตีพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์การสาธิต และการติดต่อส่วนตัว (Brown and Davis, 1973) เป็นต้น
1.2 การออกกฎหมาย เนื่องจากกิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการให้การศึกษา จึงต้องออกกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันไฟป่า
1.3 การจัดการป่าไม้ ในการทำไม้โดยพิจารณาความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ ควบคู่กัน การปฏิบัติงานตามแผนการจัดการที่เหมาะสมควรประกอบด้วย
 
 
 
2. การเตรียมการดับไฟป่า คือ การเตรียมความพร้อมเพื่อดับไฟป่าก่อนหน้าที่จะถึงฤดูไฟป่า ซึ่งต้องเตรียมการใน 3 ทาง ด้วยกัน คือ
2.1 เตรียมคน จัดองค์กรดับไฟป่า เตรียมความพร้อมของพนักงานดับไฟป่าด้วยการจัดกาลังคนเตรียมพร้อม ในการดับไฟป่า
2.2 เตรียมเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องมือดับไฟป่าทุกชนิด รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารและยานพาหนะ ให้สามารถใช้การได้ตลอดเวลา
2.3 การฝึกอบรม คือ การเตรียมพนักงานดับไฟป่าให้มีความรู้ และทักษะในการใช้อุปกรณ์ดับไฟป่า
 ตลอดจนยุทธวิธีในการดับไฟป่า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานดับไฟป่า
 
 
3. การตรวจหาไฟ เป็นระบบการตรวจหาไฟ ในช่วงฤดูไฟป่า เพื่อให้ทราบว่ามีไฟไหม้ป่าขึ้นที่ใด โดยการลาดตระเวน ด้วยการเดิน การใช้รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ การสังเกตการณ์จากหอดูไฟ และการตรวจหาไฟทางอากาศโดยใช้เครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์
 
4. การดับไฟป่า เป็นการดับไฟป่าที่เกิดขึ้น ซึ่งทา ได้ 3 วิธี คือ
4.1 วิธีสู้ไฟและควบคุมไฟโดยวิธีสร้างแนวควบคุมไฟ (control linemethod) ประกอบด้วย

- วิธีสู้ไฟโดยตรง เมื่อไฟมีความรุนแรงน้อย และมีการลุกลามช้า โดยพนักงานสามารถดับไฟที่ขอบไฟส่วนหน้า - วิธีสู้ไฟขนาน เมื่อการสู้ไฟโดยตรงไม่ได้ผลแต่อัตราการลุกลามยังช้าโดยการทำแนวควบคุมไฟจากส่วนหลังไฟ ขนานกับขอบไฟส่วนข้าง จนกระทั่งไฟอยู่ในวงล้อม และเผาโต้กลับก่อนที่ไฟจะลุกลามถึง- วิธีสู้ไฟโดยทางอ้อม เมื่อไฟมีการลุกลามเร็วและขนาดใหญ่ โดยการท าแนวควบคุมไฟป่าจากส่วนหลังไฟขนานไปกับขอบไฟส่วนหลังพร้อมกับจุดไฟโต้กลับ จากแนวควบคุมไฟป่า และต้องท าแนวกันไฟอย่างดีไว้เบื้องหน้าไฟแล้วเผากลับ เพื่อกาจัดเชื้อเพลิง

4.2 วิธีการดับไฟทั่วพื้นที่ เป็นการดับไฟด้วยน้าหรือสารเคมีด้วยการพ่นจากเครื่องบินให้ทั่วพื้นที่
4.3 วิธีการสู้ไฟแบบเผากลับ เป็นการดับไฟที่ใช้ควบคู่กับวิธีดับไฟทางอ้อมและใช้ในที่ราบ เป็นวิธีการกา จัดเชื้อเพลิงก่อนที่ไฟจะลุกลามมาถึง โดยเป็นหลักการสู้ไฟ
 
กระบวนการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่า กระบวนการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่า มีขั้นตอนดังนี้
1. การรวบรวมข้อมูลไฟป่า ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ปฏิบัติ สถิติไฟป่า สภาพปัญหาไฟป่า และพฤติกรรมของไฟป่า ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้มาจากการสารวจในพื้นที่ และจากการศึกษาวิจัย ข้อมูลไฟป่าเหล่านี้จะนามาใช้ในการวางแผนงานควบคุมไฟป่า
2. การจัดทำแผนงานควบคุมไฟป่า โดยครอบคลุมกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม คือ การป้องกันไฟป่า และการดับไฟป่า พร้อมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้การปฏิบัติงานกิจกรรมหลักทั้งสองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การปฏิบัติตามแผน เป็นการดาเนินการไปพร้อม ๆ กันทั้งแผนป้องกันไฟป่าและแผนดับไฟป่า ซึ่งหากแผนและการปฏิบัติงานตามแผนป้องกันไฟป่ามีประสิทธิภาพ 100เปอร์เซ็นต์ก็จะไม่เกิดไฟป่า จึงไม่ต้องดับไฟป่า แต่ในความเป็นจริงไม่ว่าแผนงานและการปฏิบัติงานตามแผนป้องกันไฟป่าจะมีประสิทธิภาพมากเพียงใด
 ก็ยังมีโอกาสเกิดไฟป่าขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องเข้าปฏิบัติงานตามแผนดับไฟทันที
4. การประเมินผล เป็นการประเมินผลงานการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
 และประสิทธิผลที่เกิดจากการปฏิบัติงาน แล้วนามาเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการปรับปรุงแผนงาน
ควบคุมไฟป่าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
 
Untitled Document